BreakingNews

ปิยบุตร แสงกนกกุล : เปรียบเทียบเส้นทางเดิน ของ #ปฐมสถาปนารัฐธรรมนูญ ระหว่างฝรั่งเศสและไทย


         ในการทำรัฐธรรมนูญฉบับแรกของฝรั่งเศส มีประเด็นถกเถียงกันว่า ต้องนำรัฐธรรมนูญไปให้กษัตริย์ลงนามเพื่อประกาศใช้หรือไม่ และกษัตริย์มีอำนาจวีโต้ ยับยั้งการประกาศใช้ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงใดๆได้หรือไม่

          สมาชิกสภาแห่งชาติถกเถียงกันในประเด็นนี้อย่างหนัก แต่ละฝ่ายหยิบยกทฤษฎี ประสบการณ์ต่างประเทศ ประวัติศาสตร์ มาประกอบการอภิปราย ใช้สำบัดสำนวนสวยงาม ตอบโต้กัน
แนวคิดที่ไหลเวียนอยู่ในเวลานั้น แบ่งได้ 3 แนว ได้แก่

>>>> แนวแรก กษัตริย์มีมาก่อนรัฐธรรมนูญ และกษัตริย์เป็นองค์กรร่วมในการสถาปนารัฐธรรมนูญ (co-constituent)

แนวนี้ เห็นว่า กษัตริย์มีมาตั้งหลายศตวรรษแล้ว รัฐธรรมนูญมาทีหลัง ดังนั้น หากมีรัฐธรรมนูญ นั่นก็เพราะกษัตริย์เป็นคนทำให้ พวกนี้พยายามใช้ศาสนาเข้ามาสร้างความชอบธรรม ตามทฤษฎีเทวสิทธิ์ พระเจ้าอวรตารลงมาเป็นกษัตริย์

หากกำหนดให้กษัตริย์ต้องลงนามยอมรับรัฐธรรมนูญเสมอ โดยท้วงติงอะไรไม่ได้ทั้งสิ้น นั่นเท่ากับว่า ไม่มีกษัตริย์นั่นเอง

>>>> แนวที่สอง กษัตริย์มีมาก่อนรัฐธรรมนูญ และกษัตริย์เป็นองค์กรดูแลให้รัฐธรรมนูญสอดคล้องกับเจตจำนงของชาติ

แนวนี้ เห็นว่า เราปฏิเสธข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ไม่ได้ กษัตริ์ยมีมาก่อนจริงๆ สภาที่กำลังประชุมกัน ก็เริ่มจากกษัตริย์เรียกประชุมให้ สภามีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ แต่กษัตริย์ก็ยังคงมีอำนาจวีโต้ได้ หากกษัตริย์เห็นว่ารัฐธรรมนูญที่สภาตราขึ้นนั้นไม่สอดคล้องกับเจตจำนงของชาติ

หากกษัตริย์วีโต้ นั่นคือ โยนไปให้ประชาชนตัดสินใจ ผ่านประชามติก็ได้ หรือให้ประชาชนเลือกสภาชุดใหม่เข้ามาร่างก็ได้

>>>> แนวที่สาม รัฐธรรมนูญก่อตั้งกษัตริย์ และชาติเป็นผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ
แนวนี้ เห็นว่า การปฏิวัติได้ตัดชีวิตของกษัตริย์แบบเดิมไปแล้ว กษัตริย์ที่กำลังจะเกิดขึ้นนั้น รัฐธรรมนูญได้ก่อตั้งขึ้นมา โดยชาติและสภาแห่งชาติเป็นผู้ทรงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ กษัตริย์ก่อนหน้าหายไป กลายเป็นกษัตริย์แบบใหม่ที่เกิดจากรัฐธรรมนูญ จึงมีอำนาจต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ

>>>>>>ในท้ายที่สุด ด้วยฝีไม้ลายมือของสมาชิกปีกก้าวหน้า และการกดดันนอกสภา ทำให้แนวทางที่สามชนะไป

+++++++++++++++

ชาติ เป็นผู้ก่อตั้งรัฐธรรมนูญ กษัตริย์ลงนามไปเพื่อยอมรับว่าอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ #กษัตริย์ไม่ใช่ผู้ให้รัฐธรรมนูญ
.
ประเด็นปัญหานี้ คือ "หัวใจ" ของการสร้างระบอบการเมืองใหม่หลังปฏิวัติ ต้องทำให้กระจ่างชัดตั้งแต่ยกแรก
.
หากเปรียบเทียบกับการทำรัฐธรรมนูญไทยในปี 2475 เราไม่พบการถกเถียงในเรื่องเหล่านี้ เราถูก "มัดมือชก" ให้รัฐธรรมนูญเป็น "ข้อตกลง" ระหว่างคณะราษฎรกับกษัตริย์ และเมื่อไม่ทำให้ชัดเจนแต่แรก
>>>>พอเวลาผ่านไป คลื่นลมของกษัตริย์นิยมกลับมา #เราจึงพบเห็นคำอธิบายว่า กษัตริย์ต่างหากที่พระราชทานรัฐธรรมนูญให้

จนวันนี้ มีทั้งตำรา คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ และข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริง ยืนยันว่า กษัตริย์ = อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ

ไม่มีความคิดเห็น:

ขับเคลื่อนโดย Blogger.